Category Archives: สาระน่ารู้

100 ปี ดร.เทียม โชควัฒนา 100 ปรัชญาคุณธรรม -ตอนที่ 5

เรียนรู้จากครู ข้าพเจ้าถือว่าตนเองเรียนมาน้อย รู้น้อย ดังนั้นจึงพยายามจดจำบทเรียนและประสบการณ์ทั้งการค้าและการดำเนินชีวิตจากผู้อื่นเสมอๆ ทั้งนี้ เพื่อจะได้ยึดถือเป็นแนวทางและป้องกันมิให้ตนเองต้องผิดพลาดและล้มเหลว ตอนนั้น เวลากลางวันข้าพเจ้าทำงานช่วยคุณพ่อที่ร้าน กลางคืนไปเรียนหนังสือ เป็นการเรียนแบบกวดวิชาที่โรงเรียนอึ้งฮุน ในหลักสูตรวิชาชีพครู ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาสูงสุดของโรงเรียนจีนในสมัยนั้น ข้าพเจ้ามีเพื่อนคนหนึ่งเรียนอยู่ชั้นเดียวกัน ชื่อ ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ หรือที่ใครๆเรียกกันว่า โค้วตงหมง คุณครูที่สอนข้าพเจ้าในภาคกลางคืนนั้น ท่านสอนวิชาการที่จำเป็นสำหรับนักเรียน เช่น การแต่งความเรียง ต้องเริ่มด้วยคำนำ ตามด้วยเนื้อความและคำสรุป เป้าหมายเพื่อให้เนื้อเรื่องมีความสมบูรณ์ เพียบพร้อมไปด้วยสาระและบรรยากาศ คุณครูท่านนี้รู้ว่าเราอ่อนอะไรและอ่อนตรงไหน จึงสอนด้วยความเข้าใจ เนื้อหาตอนใดจำเป็นต้องอธิบายให้ละเอียด อธิบายนานๆ ก็ทำด้วยความตั้งใจ เมื่อใดเห็นว่าเราเบื่อหน่าย คุณครูก็จะมีตัวอย่างแปลกๆมาอธิบายเพื่อสร้างความคึกคัก เมื่อได้คุณครูเช่นนี้ เรียนทั้งชั่วโมงก็ไม่มีง่วง อัธยาศัยที่เป็นกันเองระหว่างคุณครูกับนักเรียน ทำให้เราเกิดความสนใจ เมื่อเกิดความสนใจก็ตั้งใจเล่าเรียนและสามารถทำความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เรียนได้เร็วขึ้น การเล่าเรียนก็ยิ่งเพิ่มความสนุกสนานน่าสนใจ และเมื่อเรียนมาพอสมควรคุณครูจึงพูดว่า “นักเรียน เมื่อเธอเรียนถึงเนื้อหาที่ยาก เรามีความจำเป็นต้องใช้วิธีท่องจำ มิฉะนั้น ก็จะเรียนไม่ได้ดี” ความที่เคยเรียนแบบท่องจำแล้วเกิดความเบื่อหน่าย ข้าพเจ้าแย้งทันที “คุณครูครับ ไม่มีใครชอบการท่องหรอกครับ” แต่คุณครูก็ยังเน้นย้ำด้วยน้ำเสียงอันหนักแน่นจริงจัง เชื่อมั่นว่า “นักเรียน การท่องจะช่วยความจำ ทำให้การเขียน การแต่งบทความของเธอดีขึ้นได้ […]

100 ปี ดร.เทียม โชควัฒนา 100 ปรัชญาคุณธรรม -ตอนที่ 4

รู้น้อยไม่เกี่ยงงาน นับตั้งแต่พุทธศักราช 2470 เป็นต้นมา เศรษฐกิจของโลกประสบวิกฤตและเสื่อมทรุดลงอย่างร้ายแรง จากนั้นค่อยๆส่งผลกระทบประเทศของเราหนักหน่วงมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ มีข่าวปรากฏให้เกิดความตระหนกหวาดหวั่นไปทั่วว่าในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศใหญ่ มีความเจริญและความมั่งคั่งยิ่งกว่าเรา รัฐบาลของเขาต้องตัดสินใจนำสินค้าที่ล้นตลาดเพราะประชาชนขาดกำลังซื้อไปเผาไฟและทิ้งทะเล เพื่อช่วยเหลือชาวไร่ชาวนา ในต้นสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 รัฐบาลประสบปัญหาทางการคลังจนถึงกับต้องตัดงบประมาณ และให้ข้าราชกาลออกเป็นจำนวนมากดังที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า “ถูกดุล” ภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจทำให้เกิดระบบขายสินค้าผ่อนส่งขึ้นมาเป็นครั้งแรก ครอบครัวของเราใช่ว่าจะไม่ได้รับผลจากสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศและของโลก แต่คุณพ่อเป็นคนเข้มงวด รอบคอบ เห็นการณ์ไกล การปฏิบัติตนของคุณพ่อเวลานั้นจึงเป็นบทเรียนอันมีค่าสำหรับข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีอายุ 15 ปี ในปีพุทธศักราช 2474 เป็นช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและภายในครอบครัว ข้าพเจ้าตระหนักในความรู้สึกของตนเองว่ามีความรักความเคารพในตัวคุณพ่อ ความรักความเคารพนั้นท่วมท้นมาก จนพอที่จะยอมลาออกจากโรงเรียนเพื่อที่จะได้ช่วยท่านทำงานขณะที่ญาติพี่น้องยังคงเรียนหนังสือต่อไป ข้าพเจ้าจึงยังเป็นคนมีความรู้น้อย เพราะต้องออกจากโรงเรียนมาช่วยคุณพ่อค้าขายในภาวะที่ตลาดซบเซา ต้องทำงานทุกอย่าง ตั้งแต่เป็นกุลี เป็นจับกัง เป็นพนักงานขาย ข้าพเจ้าทำงานแต่ละอย่างด้วยความทรหดอดทน ต้องคอยปลุกปลอบให้กำลังใจตนเองอยู่ตลอดเวลา “เราเป็นคนมีความรู้น้อย เราต้องไม่เกี่ยงงานในทุกหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย” “เราไม่มีพื้นฐาน เราจะต้องไม่ย่อท้อ” ดังนั้น สำหรับชีวิตในวัย 15 ปีของข้าพเจ้า วันทั้งวัน สัปดาห์ทั้งสัปดาห์ เดือนทั้งเดือน จึงมีแต่มุมานะทำงานหนัก ตรากตรำอยู่กับงาน และครุ่นคิดเสมือนเป็นการเตือนใจของตนว่า“วันนี้ทำงานเต็มที่หรือยัง ถ้ายังก็จะต้องทำเพิ่มเติม” จากการทุ่มเทกำลังทำงานอย่างหนักและต่อเนื่อง วันเวลาที่ผ่านได้กลายเป็นพื้นฐานและประสบการณ์ของชีวิต […]

100 ปี ดร.เทียม โชควัฒนา 100 ปรัชญาคุณธรรม -ตอนที่ 3

เรียนรู้จากพ่อแม่ เมื่อข้าพเจ้ากลับจากเมืองจีน ประเทศไทยมีโรงเรียนจีนสำหรับเด็กผู้ชายล้วน ชื่อโรงเรียนเผยอิง ตั้งอยู่ที่ถนนทรงวาด ติดกับศาลเจ้าเล่าปิงเถ้ากง คุณพ่อให้ข้าพเจ้าเข้าเรียนทันที นักเรียนเผยอิงเป็นลูกคนจีน นอกจากเรียนวิชา มีการเล่นกีฬา มีการเรียนศิลปะและร้องเพลง ข้าพเจ้าเรียนจนถึงอายุ 15 ปี เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ข้าพเจ้าจึงลาออกมาช่วยคุณพ่อทำงาน ขณะที่ข้าพเจ้ามีอายุระหว่าง 12-13 ปี คุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อกลับจากโรงเรียนตอน 4 โมงเย็น งานประจำที่บ้านที่ข้าพเจ้าต้องทำคือ ไปรับยาเส้นจากบริษัทจำหน่ายบุหรี่มาให้คุณแม่ที่บ้าน หลักจากนั้นก็ช่วยคุณแม่นั่งมวนบุหรี่ไปจนถึง 6 โมงเย็นจึงจะได้กินข้าว บางครั้งต้องทำไปจนถึงทุ่มสองทุ่ม เมื่อเราไปรับค่าแรงจากบริษัทจำหน่ายบุหรี่ในตอนสิ้นปี ซึ่งเป็นเงินจำนวนประมาณ 300 บาท คุณแม่จะเอาเงินที่ได้ไปทำบุญ ช่วยบำรุงการกุศลตามวัดวาอาราม ในตอนนั้นข้าพเจ้ารู้สึกไม่เห็นด้วยกับคุณแม่ มีความคิดว่า เราต้องทนทำงานเหน็ดเหนื่อย นั่งมวนยาเส้นให้เป็นบุหรี่กันทั้งปี เมื่อได้เงินมาแทนที่จะนำเงินไปใช้จ่ายเพื่อแสวงหาความสุข คุณแม่กลับนำไปบริจาคเพื่อทำบุญ ข้าพเจ้าทักท้วงในเรื่องนี้ คุณแม่ก็ชี้แจงให้ฟังว่า“การทำบุญ คือการสร้างสมกุศลเอาไว้ให้แก่ลูกหลานในวันข้างหน้า ลูกอย่าได้เสียดายเลย” บุญกุศลของคุณแม่จะเป็นจริงหรือไม่เพียงใด ยากแก่การพิสูจน์ แต่ความสำเร็จของลูกๆ รวมทั้งความสุขของหลานๆ ในรุ่นหลังคงเป็นแบบอย่าง ขณะเดียวกันก็มีแง่คิดหนึ่งสะท้อนต่อเนื่องมา นั่นคือ การที่คุณแม่ยืนยันด้วยความเชื่อมั่นศรัทธาต่อการเสียสละทำบุญ เป็นอิทธิพลต่อความคิดที่ดี ฝังแน่นอยู่ในความสำนึกของข้าพเจ้าเสมอมา […]

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ "นโยบายความเป็นส่วนตัว" และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save